วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประวัติของซูชิ

ประวัติของซูชิ
 


         ประวัติของซูชิ ซูชิ : sushi   หรือ ข้าวปั้นมีหน้า เป็น อาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของ น้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือ ของคาวชนิดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ ซูชิเมะชิ ( ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู ) และมีหน้าแบบต่างๆเป็นหน้า ที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบ หรือ เนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น
  
    
      
    ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น
    ซูชินิยมหมายถึง นิงิริซู ชิ ที่เป็นข้าวมาอัดเป็นก้อนและมีเนื้อปลาวางบนด้านหน้าเท่านั้น
 
    แม้ประวัติการทำซูชิจะมีในญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน จนคนเข้าใจว่าเป็นของดั้งเดิมของญี่ปุ่น แต่เมื่อนักประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นสืบค้นหาที่มาของซูชิก็พบว่า ญี่ปุ่นรับเอาวัฒนธรรมการรับประทานอาหารประเภทปลาหมักกับข้าวมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยและลาว การหมักปลามักทำกันแพร่หลายโดยเกษตรกรที่อาศัยอยู่ริมฝั่งโขง ซึ่งในขณะเดียวกันก็ปลูกข้าว มีข้าวบริโภคกันอย่างอุดมสมบูรณ์ จึงคิดวิธีรับประทานข้าวกับปลาหมัก วัฒนธรรมการรับประทานแบบนี้เข้าสู่ญี่ปุ่นโดยผ่านประเทศจีน สมัยก่อนซูซิของญี่ปุ่นเป็นปลาหมัก ไม่ใช่ปลาดิบ ตั้งแต่สมัยเอโดะจึงเปลี่ยนแปลงมาเป็นของทะเลสดๆ มีเครื่องเคียงเป็นขิงดอง เนื่องจากทั้งขิงดองและวะซะบิ มีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อโรค         รูปแบบของซูชิถูกพัฒนาไปตามความเหมาะสมของสังคมด้วย ในตอนที่ชาวอเมริกันรู้จัก ซูชิใหม่ ๆ เป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะยอมรับ การรับประทานของดิบ จึงมีการคิดค้น ซูชิม้วนโดยใส่ไส้เป็นผักต่าง ๆ และไข่ เป็นต้น ตั้งชื่อว่าแคลิฟอร์เนียโรล เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ และการลดน้ำหนัก ส่วนหนึ่งเพราะชาวตะวันตกคิดว่าข้าวเป็นธัญพืชด้วย         ปัจจุบันร้านซูชิในญี่ปุ่นพัฒนาก้าวหน้าไปมาก เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าจำนวนมาก มีการใช้เครื่องจักรผลิตซูชิ ไม่ต้องใช้คนปั้นทีละชิ้น ลูกค้าสั่งได้จากหน้าจอมอนิเตอร์ประจำโต๊ะ ที่จานซูชิมีชิพบันทึกเวลาการผลิตไว้ หากเวลาผ่านไปราว 40 นาทีแล้วลูกค้ายังไม่หยิบไป เครื่องจะแยกซูชิจานนั้นจากสายพานทิ้งไป เป็นต้น
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น